spakle logo spakle

Dentist


คนที่ฟันไม่สบกัน มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่

การสบฟันผิดปกติไม่ได้ถือว่าเป็นโรค แต่เป็นภาวะการณ์สบฟันที่มีความเบี่ยงเบนไปจากปกติเท่านั้น ซึ่งอาจจะผิดปกติมากหรือน้อย ดังนั้นการมีการสบฟันผิดปกติจึงไม่มีความจำเป็นต้องรักษาทุกกรณี ซึ่งผลของการสบฟันผิดปกติสามารถส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก อาจจะทำให้เกิด โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ หรือส่งผลต่อสุขภาพทั่วไป เช่น ผลต่อระบบการบดเคี้ยวอาหาร ผลต่อข้อต่อขากรรไกร นอกจากนี้การสบฟันผิดปกติยังมีผลต่อสภาวะจิตใจทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการเข้าสังคมเป็นต้น
หากแบ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาการสบฟันตามประเภทการรักษา สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา
  2. กลุ่มที่ควรได้รับการรักษา
  3. กลุ่มที่ต้องการได้รับการรักษาเพื่อความสวยงาม

กลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา


ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในลักษณะดังต่อไปนี้

  • โครงสร้างใบหน้าผิดปกติ
  • ในเด็กรักษาโดยการจัดฟัน
  • ในผู้ใหญ่รักษาโดยการจัดฟันร่วมกับการทำศัลยกรรม
  • ฟันล่างสบคร่อมฟันบน ลักษณะฟันหน้าสบคร่อมฟันหน้าบนคือ ลักษณะที่ฟันหน้าล่างซี่เดียว หรือหลายซี่สบคร่อมฟันหน้าบน ถ้าไม่ทำการรักษาจะทำให้ขากรรไกรเจริญผิดปกติ เช่น ขากรรไกรบนถูกจำกัดการเจริญเติบโตในขณะที่ขากรรไกรล่างเติบโตได้ ทำให้เกิดลักษณะใบหน้าเว้า และอาจทำให้เกิดความผิดปกติที่ข้อต่อขากรรไกรได้
  • ฟันสบลึก ลักษณะฟันหน้าบนสบคร่อมฟันหน้าล่างมากกว่าปกติ ถ้าไม่ทำการรักษาจะทำให้ขากรรไกรล่างเจริญน้อยกว่าปกติ และเกิดการบาดเจ็บที่เหงือกด้านเพดานของฟันหน้าบน เนื่องจากฟันหน้าล่างสบกระแทก
  • ฟันสบเปิด ลักษณะฟันหน้าบนและล่างเปิดห่างจากกันขณะสบฟัน ถ้าไม่ทำการรักษาอาจทำให้การออกเสียงไม่ชัดเจน มีลักษณะการกลืนที่ผิดปกติ และเกิดการพัฒนาใบหน้าในแนวดิ่งมากกว่าปกติ
  •  นิสัยที่ผิดปกติ การดูดนิ้วเป็นลักษณะปกติจากความต้องการทางร่างกายของเด็ก การดูดนิ้วจะช่วยให้เด็กสบายใจผ่อนคลายความเหนื่อย ความหิว ความไม่สบายต่าง ๆ ดูดนิ้วน้อยลงจนเลิกในที่สุด เมื่อเด็กเริ่มเข้าโรงเรียนหรืออายุ 3-4 ปี แต่ถ้ายังไม่เลิกนิสัยดังกล่าว จะทำให้เกิดการสบฟันหน้าเปิด ฟันหน้าบนยื่น เกิดลักษณะการกลืนที่ผิดปกติ ฯลฯ ถ้าความผิดปกติไม่รุนแรง และเด็กเลิกดูดนิ้วได้เร็วลักษณะผิดปกติ อาจจะดีขึ้นเองจนถึงหายได้เอง การพยายามให้เด็กเลิกดูดนิ้วอาจเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ใช้มือจับของ เล่นแทนการเอานิ้วมือใส่ปาก ไม่ควรตำหนิ ดุ ว่า หรือทำให้เกิดความอาย ถ้าเด็กพอเข้าใจเหตุผลได้ควรใช้วิธีพูดคุยทำความเข้าใจ ให้เด็กรู้สึกอยากเลิกนิสัยดังกล่าวเอง กรณีเด็กยังเผลอเอานิ้วมือเข้าปาก โดยเฉพาะเมื่อเด็กง่วงนอนหรือจะเคลิ้มหลับ อาจแนะนำให้ใช้พลาสเตอร์พันนิ้วไว้ ถ้าเด็กไม่สามารถเลิกได้เองให้ปรึกษาทันตแพทย์
  • การกัดหรือดูดริมฝีปาก พบในผู้ป่วยที่มีนิสัยขี้อาย ขาดความมั่นใจ ขลาดกลัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวพันกับอวัยวะในช่องปากได้ เช่น ฟันหน้าบนยื่น ฟันหน้าล่างซ้อนเก กล้ามเนื้อคางเกร็งผิดปกติ การแก้ไขควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงผลเสีย และปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการรักษา
  • การกลืนที่ผิดปกติและตำแหน่งของลิ้นที่ผิดปกติ ในขณะกลืนผู้ป่วยจะยื่นลิ้นออกมาอยู่ระหว่างปลายฟันหน้าบนและล่าง ต้องพิจารณาจากขนาดของลิ้น โดยลิ้นอาจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เนื่องจากโรคทางระบบและตำแหน่งของลิ้นในขณะพักตำแหน่งของลิ้นที่ปกติอาจเป็นผลจากขบวนการปรับตัว มักพบในคนไข้ภูมิแพ้ มีการอุดตันของช่องจมูก ขากรรไกรบนแคบมาก ความสูงของใบหน้ามากผิดปกติควรมาพบทันตแพทย์เพื่อทำการแก้ไข ฟันหน้าห่าง การสบฟันหลังคร่อม การพูดออกเสียงไม่ชัด และเกิดการพัฒนาใบหน้าแนวดิ่งมากกว่าปกติ
  • การหายใจทางปาก มักพบเมื่อมีการรบกวนระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ ต่อมทอลซินอักเสบ เป็นต้น มักพบว่าผู้ป่วยมีอาการปากแห้งเสมอๆ นอนกรน ผลเสียที่เกิดขึ้นคือ ความสูงของใบหน้าด้านล่างมีค่ามากกว่าปกติ การสบฟันหน้าเปิด ขากรรไกรบนแคบกว่าปกติ การแก้ไขต้องพิจารณาสาเหตุที่มีความจำเป็นต้องหายใจทางปากอยู่เพราะความเคยชิน ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อใส่เครื่องมือแก้ไข
  • คางเบี้ยว ขากรรไกรล่างเอียงแบนไปจากแนวกลางใบหน้า เนื่องจากตำแหน่งฟันผิดปกติ การสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด จะมีผลทำให้กระดูกเบ้าฟันบริเวณนั้นเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ และมีการเคลื่อนที่ของฟันข้างเคียงเข้าสู่ช่องว่างนั้นแคบลง ไม่มีที่เพียงพอสำหรับการขึ้นของฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่

กลุ่มที่ควรได้รับการรักษา

  • ฟันซ้อนเกมาก คือ การเรียงตัวของฟันในขากรรไกรซ้อนกันไม่เป็นระเบียบในปริมาณมาก ควรได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
  • ฟันห่าง คือลักษณะที่ด้านข้างของฟันซี่หนึ่งไม่สัมผัสกับด้านข้างของฟันซี่ที่อยู่ถัดไป ทำให้เกิดช่องห่างระหว่างฟัน ทำให้พูดไม่ชัด เวลาพูดมีน้ำลายกระเด็น เสียบุคลิกภาพ ฟันห่างบ่งได้ 2 ประเภท คือ ฟันห่างเฉพาะบางตำแหน่งในขากรรไกร, ฟันห่างทั่ว ๆ ไป
  • ฟันยื่นมาก คือลักษณะที่ฟันหน้าบนหรือฟันหน้าล่างยื่นมาทางด้านหน้ามากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีริมฝีปากอูม หรือริมฝีปากปิดกันไม่มิด ทำให้เสียบุคลิกภาพ นอกจากนี้เวลาประสบอุบัติเหตุจุเกิดอันตรายกับปันและกระดูกเบ้าฟันได้ง่าย

กลุ่มที่ต้องการได้รับการรักษาเพื่อความสวยงาม

  • ผู้ป่วยอาจมีการสบฟันที่ผิดปกติเพียงเล็กน้อยแต่มีความต้องการให้ฟันเรียงตัวเป็นระเบียบ หรือต้องการให้ใบหน้าสวยงามขึ้น จึงมาขอรับการจัดฟัน ได้แก่
  • ผู้ป่วยที่มีการสบฟันหลังปกติแต่ฟันหน้ายื่นมากกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการสบฟันมากนัก แต่ผู้ป่วยต้องการได้รับการจัดฟัน อาจเนื่องมาจาก เพื่อนทักหรือไม่มั่นใจในตัวเอง การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของฟันโดยการจัดฟัน จะทำให้ตำแหน่งของริมฝีปากเปลี่ยนไป ทำให้ใบหน้าผู้ป่วยสวยงามขึ้น
  • ผู้ป่วยที่มีฟันซ้อนเกเล็กน้อย
  • ผู้ป่วยที่มีลักษณะการเรียงตัวของฟันปกติแต่เห็นการจัดฟันเป็นเรื่องแฟชั่น ต้องการได้รับการจัดฟันแบบเพื่อน การจัดฟันที่เกินความจำเป็นนี้อาจส่งผลต่ออวัยวะในช่องปากทั้งฟันและเหงือก การทำความสะอาดจะยากทำให้แหล่งสะสมคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลาย รวมทั้งเป็นการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายด้วย

**หมายเหตุ: บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์หากมีปัญหาหรือมีข้อสงสัยใดๆ สนับสนุนข้อมูลโดย ทันตแพทย์ ธนพจน์ นิลโมจน์ คลินิค Club Smile

 

How to White เสกฟันขาวมั่นใจ ฉบับ Food Lover

เพราะเรื่องกินคือเรื่องใหญ่! แต่สุขภาพของช่องปากและฟันก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน วันนี้สปาร์คเคิลเลยมีเคล็ดลับเสกฟันขาวสะอาด มั่นใจ ไร้กลิ่นปาก ให้ลมหายใจที่หอมสดชื่นยาวนานฉบับ “Food Lover” มาแนะนำให้กับทุกคน

อ่านรายละเอียด...

เคล็ด(ไม่)ลับ โบกมือลาคราบพลัคและกลิ่นปากสุด Easy ที่ใครๆ ก็ทำได้

กลิ่นปากและคราบพลัค เป็นปัญหากวนใจของใครหลาย ๆ คน วันนี้สปาร์คเคิลเลยจะมาแนะนำ เคล็ด(ไม่)ลับ ในการจัดการคราบพลัคและกลิ่นปากแบบง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ ด้วย “แปรงสีฟันพลังประจุลบ สปาร์คเคิล ไอโอนิค (Sparkle Ionic)” นวัตกรรมลดคราบพลัคสุดล้ำ ยอดขายอันดับ 1 จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อฟันขาวสะอาด และสุขภาพช่องปากที่ดีสุด ๆ

อ่านรายละเอียด...